ขอบคุณเพื่อนๆมากๆเลยนะ ที่เข้ามาเยี่ยมเยียน "

Love story

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

พระเมรุ





พระเมรุมาศ และพระเมรุ คือ สถาปัตยกรรมชั่วคราว หรือสถาปัตยกรรมเฉพาะกิจที่สร้างขึ้น ณ กลางใจเมืองเป็นพระเมรุขนาดสูงใหญ่ มีลักษณะเป็น “กุฎาคาร คือ เรือนยอด” คือเรือนซึ่งหลังคาต่อเป็นยอดแหลม โดยในอดีตนิยมสร้างเป็นแบบยอดปรางค์ อาจมีพรหมพักตร์หรือไม่มีก็ได้

พระเมรุมาศเดิมเป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศสำหรับการถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมราชวงศ์ที่ได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น นอกนั้นใช้ “พระเมรุ” สร้างขึ้น ณ ท้องสนามหลวง เพื่ออัญเชิญพระบรมศพจากพระบรมมหาราชวัง ด้วยกระบวนพระราชอิสริยยศ ออกไปประกอบพระราชพิธีถวายพระเพลิงบนอาคารพระเมรุมาศ โดยที่ลักษณะพระเมรุมาศ และพระเมรุ ตลอดจนการจัดพระราชพิธีจะมีความแตกต่างลดหลั่นกันไปตามพระราชอิสริยยศจากพระเดชานุภาพ

การสร้างเพระเมรุมาศ หรือพระเมรุจะมีขนาดและแบบงดงามวิจิตรแตกต่างกันตามยุคสมัย และเป็นไปตามพระอิสริยยศ และพระอิสระยศักดิ์ รวมทั้งยึดถือการบำเพ็ญพระราชกุลศลตามหลักพระพุทธศาสนา ที่เชื่อว่าเมื่อยามใดที่ผู้ทรงพระเกียรติยศสูงส่งถึงการดับสิ้นไป นั่นคือ การส่งเสด็จสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ บนเขาพระสุเมรุ เพื่อบรรลุกุศลถึงภาพแห่งความดีงาม


ด้วยโบราณราชประเพณี ประกอบกับงานช่างศิลป์ไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมไทยอันล้ำค่า พระเมรุในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ จึงจัดสร้างเป็นทรงประสาทจตุรมุขย่อมุมไม้สิบสอง ยอดพระเมรุประกอบด้วยยอดชั้นเชิงกลอน ๕ ชั้น ต่อยอดด้วยชั้นบัวกลุ่มจนถึงปลายยอดประดับพระสัปตปฎลเศวตฉัตร หรือฉัตรขาว ๗ ชั้น เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศอย่างสูงสุดในฐานะสมเด็จพระโสทรเชษฐภคินีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังเช่นที่พระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเศวตฉัตร ๗ ชั้น กางกั้นพระโกศ ณ พระที่นั่ดุสิตมหาปราสาท

ฐาน เสา และผนังพระเมรุประดับด้วยผ้าทองย่นตัดเป็นลวดลาย อาิทิ ลายหน้ากระดาน กรวยเชิง พุ่มข้าวบิณฑ์ ดอกไม้ร่วง เป็นการประดับแทนการปิดทองคำเปลว ที่มุขทั้ง ๔ ด้าน มีบันไดทอดขึ้นพระเมรุ ซึ่งมีฉากบังเพลิงประกอบ และฉากนี้จะถูกปิดในช่วงเวลาของการพระราชทานเพลิง รอบพระเมรุรายล้อมด้วยรูปเทวดานั่งคุกเข่า ถึงบังแทรก ตรงกลางเป็นโคมไฟ มีรูปเทวดายืนถือฉัตร ๕ ชั้น มีสัตว์หิมพานต์ ประกอบด้วยอัปสรสีหะ นกทัณฑิมา และกินรี อีกทั้งเสาหงส์ห้อยโคมไฟ

พระเมรุตั้งอยู่กลางปริมณฑลที่มีผังรูปจัตุรัส ประด้บด้วยสวนดอกไม้ ล้อมด้วยรั่วราชวัติรอบปริมณฑลที่เปิดทางเข้าที่กึ่งกลางทั้ง ๔ ด้าน ที่มุมราชวัติมีหอที่เรียกว่า ช่าง สำหรับพระสงฆ์ ๔ รูป สวดพระอภิธรรมตลอดงานพระเมรุ ตรงข้ามพระเมรุด้านตะวันตกเป็นอาคารโถงขนาดใหญ่ เรียกว่า พระที่นั่งทรงธรรม ใช้เป็นสถานที่สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประทับสดับพระธรรม และทรงประกอบพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลในการออกพระเมรุ ทั้งมีที่สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ คณะองคมนตรี คณะรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา คณะตุลาการ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ตลอดจนคณะทูตานุทูตเฝ้าละอองธุลีพระบาท ส่วนผู้นำศาสนาหลักที่นับถือกันในประเทศจะนั่งรวมกันในศาลาที่เรียกว่า ทับเกษตร ทางด้านทิศเหนือ

ทิศตะวันตกของพระเมรุ มีอาคารทรงไทย เรียกว่า หอเปลื้อง เป็นสถานที่สำหรับเก็บพระโกศหลังจากได้เชิญพระศพขึ้นประดิษฐานบนพระจิตกาธานแล้ว และใช้เป็นที่เก็บเครื่องประกอบต่างๆ ในการพระราชพิธี

ไม่มีความคิดเห็น: