ขอบคุณเพื่อนๆมากๆเลยนะ ที่เข้ามาเยี่ยมเยียน "

Love story

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

อเล็กซานเดอร์มหาราช




พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช พ.ศ.๑๗๖ หรือพุทธปรินิพพานได้ ๑๙๖ ปี ที่คาบสมุทรบอลข่าน เมืองมาซิโดเนีย กรีก เจ้าชายอเล็กซานเดอร์ ก็ได้ประสูติขึ้นมาในโลก พระองค์นับเป็นกษัตริย์ที่นักประวัติศาสตร์ทั่วโลก ยอมรับว่ายิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งขึ้นครองราชย์สมบัติ ณ มาซิโดเนีย เมื่ออายุ ๒๐ พรรษาต่อจากพระบิดานามว่า ฟิลิปส์ (Pgillips) พระองค์เป็นศิษย์เอกของอริสโตเติล เมื่อทรงพระเยาว์ได้รับการศึกษามาเป็นอย่างดี

เมื่อพระชนมายุ ๒๖ พรรษา ก็ทรงเป็นนักรบที่เก่งกาจ สามารถเอาชนะทั้งซีเรีย ปาเลสไตน์ อียิปต์ เปอร์เซีย (อิหร่าน)ภายในเวลาแค่ ๔ ปี จากนั้นข้ามภูเขาฮินดูกูฏเข้ามาสู่ปัญจาปทางอินเดีย ภาคเหนือเมื่อ พ.ศ. ๒๑๖ ที่นี่พระองค์ได้ทะลุถึงเมืองตักกศิลา (Taxila) เมืองที่มีชื่อเสียงด้านการศึกษาทั้งพุทธศาสนา และพราหมณ์ ณ ที่นี่พระเจ้าอัมพิราชา (Ambhiraja) ไม่ได้ทรงต่อต้านเพราะเห็นว่า ตัวเองมีกำลังอำนาจไม่เข้มแข็ง พอที่จะต้านศัตรูต่างแดนได้ จึงได้เปิดเมืองต้อนรับอเล็กซานเดอร์ ซึ่งพระองค์ก็ไม่ได้ทำอะไร เพียงแต่ให้ตักกศิลาเป็นเมืองขึ้นต่อมาซิโดเนียเท่านั้นแล้วให้ปกครองตามเดิม แล้วทรงขอให้ตักกศิลาส่งทหารมาช่วยรบปัญจาป ๕,๐๐๐ คน ซึ่งพระเจ้าอัมพิราชาก็ยินยอม

ดังนั้น พระเจ้าอเล็กซานเดอร์จึงรุดเข้าสู่ปัญจาป ได้พบกับกองทัพของพระเจ้าเปารวะ หรือ เปารุส พระราชาแห่งปัญจาป และเมื่อพระเจ้าอเล้กซานเดอร์เดินทางมาถึงแม่น้ำวิตัสตะ พระองค์ก็ได้มองเห็นทัพพระเจ้าเปารุสตั้งอยู่ฝั่งตรงกันข้าม เมื่อถึงตอนกลางคืน ทัพกรีกพร้อมทหารตักกศิลาเป็นพันธมิตร ก็เริ่มโจมตีอย่างฉับพลัน เมื่อเจอลูกศรช้างทรงของพระเจ้าเปารวะได้รับบาดเจ็บ จึงอาละวาดเหยียบทั้งทหารตนเองและทหารกรีก เกิดความสับสนอลหม่าน และในไม่ช้าทัพอินเดียของพระเจ้าเปารวะก็แพ้อย่างยับเยิน ตัวพระเจ้าเปารวะเองบาดเจ็บสาหัสจึงถูกนำตัวมาเฝ้าพระเจ้าอเล็กซานเดอร์

เมื่อกษัตริย์ กรีกถามว่าจะให้ปฏิบัติต่อเจ้าอย่างไร เปารวะกล่าวเยี่ยงอย่างพระราชา ทำให้พระเจ้าอเล็กซานเดอร์พอพระทัย สุดท้ายก็ทรงแต่งตั้งให้เป็นกษัตริย์ปกครองปัญจาปเช่นเดิม เมื่อเสร็จศึกที่ปัญจาปแล้วพระเจ้าอเล็กซานเดอร์หวังจะยกทัพต่อเพื่อยึดมคธและส่วนอื่น ๆ ของอินเดีย แต่แม่ทัพนายกองทหารอ่อนล้าเต็มที่จึงวิงวอนไม่ให้เดินทัพต่อ

กษัตริย์แห่งมาซิโดเนีย จึงจำเป็นต้องถอนทัพกลับหลังยึดอินเดียเหนือได้ ๑ ปีกับ ๘ เดือน ทัพกรีกแบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายแรกกลับทางเรือง อีกฝ่ายกลับทางบก ยุคนี้อินเดียส่วนเหนือ เปอร์เซีย (อีหร่าน) บาบิโลน (อีรัก) อีหยิปต์ ปาเลสไตน์ ซีเรียและยุโรปต่างตกอยู่ภายใต้การยึดครองของจักรวรรดิกรีก ของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์อย่างสิ้นเชิง

หลังกลับไม่ได้นานพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ก็ได้สิ้นพระชนม์ที่บาบิโลน (อิรัก) รวม พระชนมมายุ ๓๓ พรรษาเท่านั้น นักประวัติศาสตร์ต่างยอมรับว่าพระเจ้าอเล็กซานเดอร์นับเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ ที่สุดพระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์โลกเทียบเท่าเจ็งกิสข่านของมองโกลผู้พิชิตยุโรป



ไม่มีความคิดเห็น: