ขอบคุณเพื่อนๆมากๆเลยนะ ที่เข้ามาเยี่ยมเยียน "

Love story

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Henry the Navigator







This article is about the Portuguese prince. For the Dutch prince sometimes known as "Henry the Navigator", see Prince Henry of the Netherlands.


The Infante Henrique, Duke of Viseu (Portuguese pronunciation: [ẽˈʁik(ɨ)]; Porto, March 4, 1394November 13, 1460 in Sagres) was an infante (prince) of the Portuguese House of Aviz and an important figure in the early days of the Portuguese Empire, being responsible for the beginning of the European worldwide explorations. He is known in English as Prince Henry the Navigator (Portuguese: o Navegador).


Prince Henry the Navigator was the third child of King John I of Portugal, the founder of the Aviz dynasty, and of Philippa of Lancaster, the daughter of John of Gaunt. Henry encouraged his father to conquer Ceuta (1415), the Muslim port on the North African coast across the Straits of Gibraltar from the Iberian peninsula, with profound consequences on Henry's worldview: Henry became aware of the profit possibilities in the Saharan trade routes that terminated there and became fascinated with Africa in general; he was most intrigued by the Christian legend of Prester John and the expansion of Portuguese trade.


It is a common conception that Henry gathered at his Vila on the Sagres peninsula a school of navigators and map-makers. He did employ some cartographers to help him chart the coast of Mauritania in the wake of voyages he sent there, but for the rest there was no center of navigational science or any supposed observatory in the modern sense of the word, nor was there an organized navigational center. In “Crónica da Guiné” Henry is described as a person with no luxuries, not avaricious, speaking with soft words and calm gestures, a man of many virtues that never allowed any poor person leave his presence empty handed.



วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Picasso



ประวัติส่วนตัว

พาโบ รุสซี่ ปิกาสโซ่ เกิดเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ.1881 ที่เมืองมาลาก้า แถบชายฝั่งทะเล เมดิเตอร์เรเนียน ของประเทศสเปน บิดาของปิกาสโซ่เป็นครูสอนศิลปะและเป็นผู้เล็งเห็นความ เป็นอัจฉริยะในตัวของบุตรชายของตน จึงส่งปิกาสโซ่เข้าศึกษาในสถาบันสอนศิลปะในเมืองบาเซโลน่า ซึ่งเป็นสถาบันที่บิดาของเขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นโปรเฟสเซอร์เมื่อปี ค.ศ.1896 ปิกาสโซ่ได้รับ ความรู้ด้านการเขียนภาพแบบเรียวลิสติก เมื่อเขามีอายุได้ 16 ปี ก็มีสตูดิโอเป็นของตนเองที่ ในเมืองบาเซโลน่า และในปี ค.ศ. 1900 เขาได้ไปเยือนปารีสเป็นครั้งแรกและตัดสินใจที่จะใช้ ชีวิตอยู่ที่นั่น ในปี ค.ศ.1904

รูปแบบการเขียนภาพของปิกาสโซ่ เปลี่ยนเป็นช่วงๆ โดยในปี ค.ศ.1901 ถึง 1904 จัดเป็นยุคสีฟ้า เพราะเป็นช่วงที่ปิกาสโซ่ นิยมใช้โทนสีฟ้าในการเขียนรูป และในปี ค.ศ.1905 ปิกาสโซ่ได้รับความสำเร็จจากงานที่เขาเขียนมากขึ้น จึงเริ่มเปลี่ยนแปลงสีที่ใช้ โดยค้นหาสีใหม่ จากจานวีของเขาเอง ในที่สุด สีฟ้าที่ใช้อยู่แทบทุกวันก็เริ่มหายไป กลายมาเป็นสีน้ำตาลปนแดง เข้ามาแทน และด้วยความพยายามของเขาที่จะให้มีความเศร้าในงานที่เขาเขียนน้อยที่สุด ปิกาสโซ่จึงเพิ่ม นักเต้นรำ นักกายกรรม และตัวตลก เข้ามาไว้ในภาพของเขาภาพทั้งหมด ที่เขาเขียนในระหว่างปี ค.ศ.1905-1907 นี้ถูกจัดเป็นยุคสีกุหลาบ
ปีค.ศ.1907 ปิกาสโซ่ได้เปลี่ยนแปลงแนวทางในการวาดรูปใหม่ โดยได้เขียนภาพที่ชื่อ " Les Demoiselles d’Avignon " ภาพที่เขียนขึ้นมานี้ แสดงให้เห็นว่า ปิกาสโซ่ได้เกิดความหลงใหล ในศิลปะแบบดั้งเดิม จำพวกงานแกะสลัก และโดยเฉพาะศิลปะของแอฟริกา ภาพนี้ถือเป็นจุดกำเนิด ของความเปลี่ยนแปลงทางศิลปะขึ้น เพราะปิกาสโซ่ได้คิดค้นศิลปะแบบใหม่ โดยยึดเอาหลักการ ของลูกบาศก์มาใช้ และเขียนในทำนองเพ้อฝัน เขาได้ทำการทดลองในการวิเคราะห์รูปทรงทาง เรขาคณิต โดยร่วมมือกับบรรดาเพื่อนฝูงของเขา ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ จอร์เจส บากค์ จนกระทั่งในปี ค.ศ.1921 ภาพเขียนที่ชื่อว่า " นักดนตรีทั้งสาม " ( The three Musicians ) ก็ได้ถูกเขียนขึ้น ถือเป็นหนึ่งในความสำเร็จที่ได้รับจากการนำทฤษฎีใหม่นี้มาใช้
ในปี ค.ศ.1917 ปิกาสโซ่ตัดสินใจไปยังกรุงโรม เพื่อออกแบบเครื่องแต่งกายและออกแบบฉาก ให้กับคณะบัลเล่ต์ ด้วยการทำงานในแนวนี้ ถือเป็นการขยายขอบเขตของการสร้างสรรค์ให้กับตนเอง ในปี ค.ศ.1918-1925 ปิกาสโซ่ได้เริ่มต้นที่จะเขียนภาพไปในแนวคลาสสิกอีกครั้งนับตั้งแต่วันแรกที่ปิกาสโซ่ตัดสินใจมาอยู่ที่ปารีสเมื่อ ค.ศ.1904 ไปจนถึงปี ค.ศ.1911 และรวมไปถึงวันที่ เขาเสียชีวิตลงนั้น ปิกาสโซ่ได้ผัวพันอยู่กับผู้หญิงหลายคน คนแรกคือ มาร์แชล ฮัมแบท ต่อมาในปี ค.ศ.1918 เขาได้แต่งงานกับนักเต้นบัลเล่ย์ชาวรัสเซีย ชื่อว่า โอลก้า โคโคลวา แต่ต่อมาก็แยก ทางกัน และถึงขั้นหย่าร้างไปในที่สุด ปิกาสโซ่มีบุตรกับโอลก้า 1 คน ชื่อ เปาโล โอลก้าเสียชีวิตลงในปี ค.ศ.1955 เมื่อปิกาสโช่อายุได้ 80 ปี เขาได้แต่งงานใหม่ในปี ค.ศ.1961 กับหญิงสาวที่เป็น นางแบบให้เขาเขียนภาพนั่นเอง เธอมีชื่อว่า แจ็คเกอรีน โร้ค ช่วงเวลาระหว่างการแต่งงานทั้งสองครั้งนี้ ปิกาสโซ่ได้ใช้ชีวิตอยู่กับผู้หญิงอีกหลายคน ซึ่งต่างคนต่างก็มีอิทธิพลต่อการเขียนรูป ของเขา หญิงสาวที่เป็นที่รักยิ่งของเขา คือ มาเรีย เทสเซ่ วอร์เตอร์ ซึ่งเขาได้พบเมื่อตอนต้นปี ค.ศ.1930 และภายหลังได้กลายมาเป็นมารดาให้กับลูกสาวของเขานามว่า มาเรีย นอกจากวอร์เตอร์ แล้ว ดอร่าแมท์ หญิงสาวชาวยูโกสลาเวีย ที่เขาพบในปี ค.ศ.1936 และผู้หญิงอีกคนในชีวิตของ เขาก็คือ ฟรานซิส จีลอต จีลอตอยู่กินกับปิกาสโซ่ตั้งแต่ปี ค.ศ.1946 ไปจนถึงปี ค.ศ.1953 และได้ให้กำเนิดบุตรกับปิกาสโซ่ 2 คน คือ คลาว ซึ่งเกิดเมื่อปี ค.ศ.1947 และปาโลมา ซึ่งเกิดหลังจากคลาว 2 ปี ด้วยการที่ปิกาสโซ่ได้พบกับจีลอตนั้น ทำให้ปิกาสโซ่เกิดแรงบันดาลใจ ที่จะเขียนรูปไปในทางตำนานต่างๆ เช่นเขียนรูปของ ฟอน นิมส์ เซนต์ทอรส์ และไปเปอร์

ปิกาสโซ่ใช้ชีวิตอยู่ที่ฝรั่งเศส จนได้ผ่านสงครามโลกครั้งที่สองมาแล้ว แต่ในยุคที่ฝรั่งเศษตก เป็นเมืองขึ้นของเยอรมันนั้น ผลงานเขียนภาพของปิกาสโซ่ ก็ถูกระงับไว้ไม่ให้นำมาแสดง ในปี ค.ศ.1944 ปิกาสโซ่ได้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ของฝรั่งเศษ และในปี ค.ศ.1955 ปิกาสโซ่ได้ย้ายไปอยู่ที่ริเวียร่าในฝรั่งเศษ ถึงแม้จะย้ายไป แต่ปิกาสโซ่ก็ยังคงทำงานต่อไปจนถึงอายุ 90 ปี

ปิกาสโซ่เป็นศิลปินที่มีความรอบรู้ในหลายๆด้าน เขาสามารเป็นได้ทั้ง นักเซรามิกส์ ช่างแกะสลัก และศิลปินทางด้านงานกราฟฟิก ทรัพย์สมบัติต่างๆที่ปิกาสโซ่หามาได้นั้น ได้มีการตีราคาของ สมบัติทั้งหมดเป็นเงินถึง 300 ล้านดอลล่าร์ ปิกาสโซ่เสียชีวิตในวันที่ 8 เมษายน ของปี ค.ศ.1973 ที่มอร์กิส ประเทศฝรั่งเศส


ผลงาน




Portrait of Picasso
วาดภาพเมื่อปี ค.ศ.1912เป็นภาพวาดสีน้ำมันบนผืนผ้าใบขนาดภาพ 93.4 x 74.3 ซม. (36 3/4 x 29 1/4 นิ้ว)สถานที่แสดง Art Institute of Chicago






Man in the Cafe
วาดภาพเมื่อปี ค.ศ.1912เป็นภาพวาดสีน้ำมันบนผืนผ้าใบขนาดภาพ 128.2 x 88 ซม.สถานที่แสดง Philadelphia Museum of Art



Le Lavabo
วาดภาพเมื่อปี ค.ศ.1912เป็นภาพวาดสีน้ำมันบนผืนผ้าใบด้วยกระดาษแลกระจกขนาดภาพ 51 นิ้ว X 35 นิ้วกรุงปารีส






Landscape with Houses at Ceret
วาดภาพเมื่อปี ค.ศ.1913เป็นภาพวาดสีน้ำมันบนผืนผ้าใบขนาดภาพ 100 x 65 ซม. (39 3/8 x 25 5/8 นิ้ว)เมือง Madrid






Landscape at Ceret
วาดภาพเมื่อปี ค.ศ.1913เป็นภาพวาดสีน้ำมันบนผืนผ้าใบขนาดภาพ 92 x 60 ซม. (36 1/4 x 23 5/8 นิ้ว)สถานที่แสดง Moderna Museetเมือง Stockholm







The Man at the Caf้
วาดภาพเมื่อปี ค.ศ.1914เป็นภาพวาดสีน้ำมันบนกระดาษติดลงบนผืนผ้าใบขนาดภาพ 99 x 72 ซม. (39 x 28 3/8 นิ้ว)เมืองนิวยอร์ก







Still Life before an Open Window: Place Ravignan
วาดภาพเมื่อปี ค.ศ.1915เป็นภาพวาดสีน้ำมันบนผืนผ้าใบขนาดภาพ 116 x 89 ซม. (45 5/8 x 35 นิ้ว)สถานที่แสดง Philadelphia Museum of Art



วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552

มีเกลันเจโล




มีเกลันเจโล หรือชื่อเต็มว่า มีเกลันเจโล ดี โลโดวีโก บัวนาร์โรตี ซีโมนี (อังกฤษ: Michelangelo di Lodovico Buonarroti Simoni, 6 มีนาคม ค.ศ. 1475 - 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564) เป็นจิตรกร สถาปนิก และประติมากรชื่อดังชาวอิตาลี



ศิลปินที่เข้าถึง 3 ศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก เขาไม่เป็นเพียงผู้ที่เข้าถึงแต่เพียงศาสตร์ด้านวิจิตรศิลป์ แต่เขายังเข้าถึงความยิ่งใหญ่ของสถาปัตยกรรม และประติมากรรมอีกด้วย เกิดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 1475 และเติบโตที่เมืองฟลอเรนซ์ ภายหลังเป็นผู้สร้างประติมากรรมหินอ่อนชื่อกระฉ่อนโลกนามว่า เดวิด (David)
หลังจากที่ไปอยู่ที่
กรุงโรม



เมื่ออายุ 21 ปี และใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นถึง 5 ปี มีเกลันเจโล สร้างประติมากรรมรูปเดวิด ตอนอายุ 26 ปี จากหินอ่อนก้อนมหึมาที่ถูกทิ้งไว้กลางเมืองฟลอเรนซ์เป็นเวลาหลายปี จึงกลายเป็นที่ฮือฮาของชาวเมือง ด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่มีใครกล้าพอที่จะแตะต้องมันนั่นเอง ความสำเร็จหลังจากงานชิ้นนี้ ทำให้ชื่อเสียงของเขาโด่งดังไปทั่วอิตาลี มีเกลันเจโลเดิมทีเป็นคนที่เกลียด เลโอนาโด ดาวินชี ถึงแม้ว่าทั้งคู่จะมีอายุห่างกันถึง 23 ปี และไม่ค่อยได้พบกันบ่อยนัก (คล้ายกับ "การที่เสือสองตัวอยู่ในถ้ำเดียวกันไม่ได้") ในช่วงนี้ (1497-1500) เขาก็ได้สร้างประติมากรรมหินอ่อนอีกชิ้นหนึ่งที่มีชื่อว่า ปีเอตะ (Pietà) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในวิหารเซนต์ปีเตอร์ (St. Peter's Basilica) ที่กรุงโรม



ตอนอายุได้ 30 ปี เขาได้ถูกเชิญให้กลับมาที่กรุงโรม เพื่อออกแบบหลุมฝังศพให้กับ พระสันตะปาปาจูเลียส ที่ 2 ซึ่งใช้เวลาประมาณ 40 ปี หลังจากแก้หลายครั้งหลายครา จนมาสำเร็จในปี 1545 ต่อมาในปี 1546 เขาเป็นสถาปนิกคนสำคัญในการสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ที่กรุงโรม ที่มีความยิ่งใหญ่และงดงามเป็นอย่างมาก ซึ่งถือเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของโลก โดยเฉพาะส่วนที่เป็นโดม



เขาใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ในกรุงโรม ตลอด 30 ปี ช่วงนี้นั้นเองที่เขาเขียนภาพระดับโลกไว้มากมาย โดยเฉพาะ The Last Judgement (Last Judgment) ซึ่งเขาใช้เวลาในการเขียนภาพขนาดยักษ์นี้นานถึง 6 ปี
มีเกลันเจโล บัวนาร์โรตี เสียชีวิตลงเมื่ออายุได้ 90 ปี ซึ่งมีคำกล่าวจาก พระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ว่า "ทรงยินดีบั่นทอนชีวิตของท่านลง เพื่อแลกกับชีวิตของ มิเกลันเจโล ให้ยืนยาวออกไปอีก"